รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

 

          รูปแบบการสอน (Instruction model)  หมายถึง   การจัดการสอนของครูอย่างมีระบบและมีขั้นตอน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวิทยาศาสตร์มีหลายรูปแบบ เช่น สุ-จิ-ปุ-ลิ , วัฏจักรการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน (4 Phases Learning Cycle) ,วัฎจักรการเรียนรู้ 5E (5E Learning Cycle) รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์มีหลายรูปแบบครูผู้สอนควรเลือกและคัดสรรให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหา ซึ่งจะช่วยให้การจัดการสอนของครูมีระบบและมีขั้นตอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล           

รูปแบบการสอนแบบ สุ-จิ-ปุ-ลิ

รูปแบบการสอนแบบสุจิปุลิ

รูปแบบการสอนแบบวัฏจักร การเรียนรู้ 4 ขั้นตอน

รูปแบบการสอนแบบ วัฏจักรการเรียน รู้ 5Es

หน้าหลักงานวิจัย

 

          กระทรวงศึกษาธิการ(2544,หน้า38) ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงบรรยายในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ‘เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า “เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2542 ได้เสนอแนวคำสอนของพระพุทธศาสนาแนวหนึ่ง คือ สุ-จิ- ปุ-ลิ
            สุ  เป็นทักษะการรับเข้ามา อาทิ ฟัง สังเกต อ่าน สัมผัสต่างๆนี่คือประตูด่านแรกของการเรียนรู้
            จิ  คิดไตร่ตรอง คิดเชิงบวก คิดแบบเป็นกลาง คิดแบบสร้างสรรค์ไม่ติดหล่มเก่าๆ เป็นช่วงที่เรียบเรียง หรือเกิดการเรียงตัวทางความคิด
            ปุ   การตั้งคำถาม การตั้งโจทย์วิจัย การถามอะไรก็ได้ อาจจะยังไม่ต้องกังวลในการหาคำตอบ การสร้างโมเดล การร่างต้นแบบทางความคิด สิ่งเหล่านี้ เป็นนัยของการถามทั้งนั้น คนที่ทำงานก็อาจจะถามง่ายๆแค่ว่า มันยังมีวิธีที่ทำได้ดีกว่านี้อีกหรือไม่
            ลิ   เมื่อเราลงมือทำ แล้วเข้าใจอะไรบางอย่าง เกิดภาวะเข้าถึงใจในบางเรื่อง แล้วเราจดจำ จะด้วยความทรงจำหรือบันทึกเก็บไว้ในรูปแบบใดก็ได้
            รูปแบบการสอนแบบ สุ-จิ-ปุ-ลิ เป็นรูปแบบการสอนรูปแบบหนึ่งที่ครูควรนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้หลายกรณี เช่น การสอนที่เริ่มต้นด้วยการให้นักเรียนทำกิจกรรมสำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล หรือฟังการบรรยาย เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนคิด หรือสงเสริมให้นักเรียนถามคำถามหรือข้อสงสัย นำมาสู่การอภิปรายหาคำตอบของคำถาม และลงข้อสรุปเป็นองค์ความรู้ โดยนักเรียนจะเป็นผู้บันทึกข้อสรุปลงในสมุดจด การสอนตามรูปแบบนี้จะส่งเสริมให้นักเรียน คิด ถามคำถาม และจดบันทึกข้อสรุปเป็นใจความสำคัญ หรือองค์ความรู้ที่ได้เรียน

 

อ้างอิงจาก
กระทรวงศึกษาธิการ.(2544).ชุดฝึกอบรมวิทยากรแกนนำ  หลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐานพุทธศักราช 2544 ชุดที่ 11 เรื่อง กระบวนการเรียนรู้
. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).